ในบรรดาช่างภาพร่วมสมัยในศตวรรษที่ 20 คงไม่มีใครปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของ Robert Frank แม้ว่าเขาจะถูกปรามาสในช่วงกลางศตวรรษ แต่เขาก็ฝ่าฟันจนกลายเป็นหลักไมล์สำคัญแห่งวงการภาพถ่ายร่วมสมัย
Robert Frank เสียชีวิตแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (9 กันยายน 2019) ที่บ้านพักใน Nova Scotia ซึ่งได้รับการยืนยันจาก Peter McGill แห่ง Pace-MacGill Gallery ที่แมนฮัตตัน อันเป็นแกลอรี่ที่จัดแสดงผลงานของ Frank มาตั้งแต่ปี 1983
แม้ว่า Robert Frank จะเป็นชาวสวิสเซอร์แลนด์ แต่ในปี 1955 เขาได้กลายเป็นเด็กหนุ่มทะเยอทะยานที่ขับรถพร้อมภรรยาและลูก ข้ามประเทศอเมริกาเพื่อถ่ายภาพเก็บเกี่ยวชีวิตผู้คนอเมริกัน จนมันได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1959 ในชื่อว่า “The Americans”
Robert Frank ผลิตผลงานศิลปะมากมาย หลากหลายรูปแบบโดยไม่ย่ำอยู่ที่เดิม และไม่ชอบที่จะหันกลับไปมองมันเลย เขาผลิตงานไม่หยุดหย่อนแม้ในวัย 90 กว่าก่อนเสียชีวิต ก็ยังคงทำผลงานประหนึ่งเป็นลมหายใจ
Robert Frank , Lee Frielander, William Eggleston หรือ Joel Sternfeld คือรายชื่อส่วนหนึ่งของช่างภาพระดับตำนานตลอดศตวรรษที่ 20 ที่ออกเดินทางและบันทึกเรื่องราวในแบบของพวกเขาจากรุ่นสู่รุ่น รวมไปถึงเด็กหนุ่มจากมินนิโซต้าคนหนึ่ง ที่เมื่อครั้งเขาไปเรียนวาดภาพในโรงเรียน และ Joel Sternfeld หนึ่งในช่างภาพระดับตำนานนั้นได้มาเลคเชควิชาพิเศษที่โรงเรียนของเขา Joe ได้โชว์ผลงานมาสเตอร์พีซ “American Prospects” รวมไปถึงโชว์เบื้องหลังการเดินทางบนรถตู้เพื่อถ่ายทำผลงานทั้งหมดไปทั่วประเทศให้นักเรียนดู ช่วงเวลาที่แสนวิเศษสั้นๆนั้นเอง กลายเป็นการจุดไฟในตัวของเด็กหนุ่มคนนั้นให้ลุกโชน
ถ้าคุณพลิกดูภาพสักหนึ่งภาพใน Sleeping by the Mississippi คุณอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นภาพถ่ายที่แสนธรรมดา ผิดกับการที่คุณอาจจะเคยดูงานของ Joe Sternfeld หรือ Stephen Shore สักภาพ แม้ไม่ต้องดูติดกันหลายๆภาพ มันก็ดูช่างน่าตื่นตาตื่นใจในความงดงามนั้น ที่ถ่ายทอดด้วยกล้อง Large Format ที่เก็บรายละเอียดและแสงสีที่งดงามที่สุด แต่สำหรับภาพชุดนี้.. มันอาจจะไม่ใช่แบบที่คุณคาดหวังจากเขาเหล่านั้น
Alec Soth ตีพิมพ์หนังสือภาพ Sleeping by the Mississippi ครั้งแรกด้วยตัวเขาเองเมื่อปี 2004 มันเป็นผลงานอย่างเป็นทางการชิ้นแรกของเขาเช่นกัน และมันก็ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในแวดวงศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยในเวลาต่อมา รวมไปถึงการได้ถูกเสนอชื่อเป็นช่างภาพของเอเจนซี่ Magnum ด้วย
ปัจจุบันหนังสือภาพ Sleeping by the Mississippi ในเวอร์ชั่นแรก กลายเป็นของสะสมและราคาสูงในตลาด เพิ่งจะมีการตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งโดยสำนักพิมพ์ MACK เมื่อปี 2017
แม้งานของ Monet จะปฏิวัติวงการภาพวาดเพียงใด แต่ก็ยังคงอยู่ในพื้นที่ของการเลียนความจริง และยังไม่เกิดการวิพากษ์โดยปัจเจกชน | 1919 Claude Monet : http://www.metmuseum.org
Bertien Van Manen เธอเกิดในปี 1942 ปีที่สงครามกำลังร้อนระอุ ท่ามกลางครอบครัวคนงานเหมือง และเธอคือช่างภาพชาวดัทช์ที่หลงใหลในงานของ Robert Frank ช่างภาพชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่สร้างผลงานภาพถ่ายสารคดีครั้งสำคัญให้กับอเมริกันชน “The Americans” เมื่อปี 1958 แน่นอนว่าเมื่อคุณตกหลุมรักในงานของ Robert Frank คุณย่อมตกหลุมรักในการเดินทาง เสพติดความเจ็บปวดของชีวิตมนุษย์ไปด้วย
Bertien ไม่ได้เริ่มต้นถ่ายภาพมาแต่เด็กเหมือนช่างภาพอาชีพหลายๆคน แต่กว่าจะเริ่มถ่ายภาพเป็นอาชีพก็ล่วงเลยมาในวัย 30 ต้นๆแล้ว และเริ่มต้นด้วยงานภาพถ่ายแฟชั่นเพื่อหาเลี้ยงชีพ จิตวิญญาณแห่งการเดินทางของเธอในแบบ Robert Frank ไม่เคยจางหายไป มันยังคงคุกรุ่นอยู่เสมอท่ามกลางชีวิตอันเรียบง่ายในเนเธอร์แลนด์
I will be Wolf คือผลงานแรกของเธอ ก่อนที่จะเดินทางข้ามทวีปไปไกล ภาพขาวดำที่เริ่มต้นถ่ายเมื่อเดือนธันวาคม 1975 ว่าด้วยชีวิตอันแสนธรรมดาในเมืองหลวงของฮังการี ภายใต้การปกครองของโซเวียต ก่อนที่จะถึงยุคที่โลกทั้งโลกถูกเชื่อมถึงกันอย่างง่ายดาย ถ่ายด้วยกล้องแสนธรรมดา ชีวิตคนธรรมดา แต่ว่ามันกลับสะท้อนความรู้สึกของเธอผ่านภาพขาวดำทั้งหมดนั่น
งานช่วงแรกของเธอมักสื่อสารในเชิงสังคม ความไม่เท่าเทียม และเป็นจุดเริ่มต้นที่งานของเธอมักเกี่ยวพันกับบทกวี ดังเช่นผลงาน I will be Wolf ที่ผสมผสานงานบทกวีของศิลปินชาวฮังการีเข้าไว้ด้วย ( ชื่อ I will be Wolf นำมาจากบรรทัดหนึ่งในบทกวี Grief ปี 1929 ของศิลปินที่ชื่อว่า Józef Atilla)
กลับมาในส่วนของแผนกภาพถ่ายของ MoMA ในปี 1962 หลังการทำงานหน้าที่สำคัญของ Edward Steichen กว่า 15 ปี เขาปั้นช่างภาพหน้าใหม่ให้กับวงการอย่าง Robert Frank, Elliott Erwitt, Harry Callahan, Todd Webb, W.Eugene Smith , Esther Bubley และ Lucien Clergueให้เจิดจรัสในโลกศิลปะช่วงทศวรรษที่ 50 ไปแล้ว ก็ได้เวลาที่เขาขอลงจากตำแหน่งแม่ทัพของทีมที่ดุเดือดที่สุดในวงการศิลปะยุคใหม่
Edward Steichen และ John Szarkowski ในปี 1964
การวางตัวตายตัวแทนจึงไม่ใช่เรื่องขอไปทีสำหรับ Steichen แต่มันคือการวางรากฐานสำคัญของชัยชนะทางศิลปะภาพถ่ายของอเมริกาต่อไปอีกยาวนาน แน่นอนว่าเขามีคนที่อยู่ในใจแล้ว นั่นคือ John Szarkowski (จอห์น ชาร์คอฟสกี) ช่างภาพหนุ่มไฟแรงที่กวาดรางวัลมามากมาย ขณะนั้น John อายุได้ 36 ปี กำลังเป็นคนหนุ่มไฟแรง หัวก้าวหน้าทางศิลปะ และผลงานหนังสือภาพที่เขาตีพิมพ์เอง 2 เล่ม “The Idea of Louis Sullivan” (1956) และ “The Face of Minnesota” (1958) ก็ได้รับผลตอบรับอย่างดีถึงกับเคยขึ้น Best-seller ของ The New York Times อยู่หลายสัปดาห์
The Face of Minnesota งานของ John Szarkowski
John Szarkowski มีแนวทางที่แตกต่างไปจากช่างภาพในยุคนั้นที่มักมองสิ่งต่างๆที่พัฒนาจากงาน Painting เป็นหลัก ความงดงามที่เหมือนจิตรกรรม ในขณะที่ John มองอะไรที่ค่อนข้างเป็นงาน Fine Art ที่แสดงอัตลักษณ์ของศิลปินออกมา เน้นแรงขับจากความรู้สึกข้างในตัวตนมากกว่าความงามตามทฤษฏีศิลปะทั่วไป
พูดง่ายๆคือ John ค่อนข้างเบื่อหน่ายกับงานศิลปะที่สื่อสารออกมาโต้งๆ โดยไม่ผ่านมุมมองส่วนตัวของศิลปิน จะเรียกว่าตรงข้ามกับ Steichen ที่มองคอนเซปใหญ่ๆ ไกลๆ เช่น The Family of Man ที่เป็นงานนิทรรศการระดับ World Concept จนทำให้ MoMA มีคนเข้ามาชมหลายล้านคน แต่ความแตกต่าง ตรงข้ามระหว่างเขาทั้งสองคนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเกินคาดเดาอะไรของ Steichen เลย เพราะความแตกต่างนั่นต่างหาก..ที่เขามองเห็นและวาดหวังจะให้ John เปลี่ยนแปลง MoMA แบบสุดโต่งอยู่แล้ว
John เคยพูดถึงหน้าที่ที่เขารับมอบหมายต่อจาก Steichen ว่า “เราสองคนอาจจะรับผิดชอบงานในตำแหน่งเดียวกัน แต่มันเป็นช่วงยุคสมัย ช่วงเวลาที่ต่างกันมาก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า งานของผมกับเขา..มันก็แทบจะไม่ได้เหมือนกันหรอก”
ส่วนหนึ่งในนิทรรศการภาพ Five Unrelated Photographers ปี 1963
ในทางกลับกัน ความเป็นอิสระของศิลปิน คือเนื้อหาสำคัญที่ John Szarkowski ต้องการจากช่างภาพทั้ง 5 อันได้แก่ Ken Heyman , George Krause , Jerome Liebling , Minor White และ Garry Winogrand
แต่ในท้ายที่สุด John ก็ได้พาเอางานของ Ernst Haas , Helen Levitt และแน่นอนที่สุด.. William Eggleston เจ้าพ่อแห่งการถ่ายภาพสีในโลกศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเราจะพูดถึงกันในตอนถัดไป (ถ้ามีโอกาสเขียนต่ออีก)
ในช่วงประมาณ 5 ปีที่แล้ว ที่เราได้หันมาถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มอย่างจริงจัง การได้ดูงานของ W.Eugene Smith เป็นสิ่งที่กระทบใจเป็นอย่างมาก ซึ่ง ณ เวลานั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้พินิจพิเคราะห์ลงไปว่าเหตุผลใดที่งานของ Smith ถึงได้มีพลังมากมายนัก ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ก็เป็นภาพผู้คนเหมือนเช่นช่างภาพคนอื่นๆทั่วไป
เมื่อปีก่อน (2018) เราได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการภาพถ่ายที่ชื่อว่า “A Life in Photography” ของ W.Eugene Smith ที่โตเกียว อีกครั้ง..ที่งานของเขาได้ทำหน้าที่ส่งพลังงานบางอย่างให้กับเรา และมันยิ่งทรงพลังเป็นอย่างมาก เมื่อได้ชมผ่านงานปริ๊นท์ขนาดใหญ่
Eugene Smith พาภรรยาคนที่สอง Aileen Mioko Smith ลูกครึ่งอเมริกัน-ญี่ปุ่น มาด้วยกันที่เมืองนี้เพื่อทำงานชิ้นนี้ ความตั้งใจแรกที่เขาจะใช้เวลาราวๆ 3 เดือนในการเก็บเกี่ยวเรื่องราวทั้งหมด แต่มันก็เริ่มยาวนานขึ้นๆ จากเดือนเป็นปี จากปีก็นำพาทั้งคู่ยาวถึง 3 ปีในเมืองที่เขาเป็นคนแปลกถิ่นนั้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับทั้งภาครัฐและเอกชน
ปี 1972 นิตยสาร Life ตีพิมพ์ภาพอันทรงพลังของ Smith เป็นการประกาศให้โลกได้รับรู้เป็นครั้งแรกถึงปีศาจร้ายที่เกาะกินผู้คนตาดำๆนับพันๆชีวิตบนเกาะแห่งนี้ แต่นั่น..ก็ไม่ได้ทำให้มีผลอะไรมากในพื้นที่ที่เกิดผลร้าย และแม้ว่า Smith จะเอาตัวเข้าไปพัวพันมากถึงเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้ร่วมกับชาวบ้านแล้วก็ตาม กลับยิ่งมีผลร้ายต่อตัว Smith เองที่ถูกจับจ้องจากผู้มีอิทธิพล หมายจะเอาชีวิตเขา
ถ้าให้พูดถึงงานภาพชุดประเภท Family Project ในโลกนี้ที่ดีๆ คงหยิบยกมาพูดกันได้ไม่รู้จบ แม้ว่ามันดูเป็นงานที่ Personal เอามากๆ แต่ถึงกระนั้นก็กลับเป็นงานที่คนทั่วไปสัมผัสมันได้ง่ายด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตตัวเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ปี 1992 เป็นครั้งแรกของงานที่ชื่อว่า “Pictures of home” ของ Larry Sultan ถูกตีพิมพ์ มันขายหมดไปอย่างรวดเร็วพร้อมคำชมล้นหลาม และก็กลายเป็นงานโฟโต้ขึ้นหิ้งที่ถูกพูดถึงเสมอมา แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี 2009
25 ปีนับจากการตีพิมพ์ครั้งแรก ภรรยาของ Larry ได้ให้ทางสำนักพิมพ์ MACK ตีพิมพ์ Pictures of home อีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สองที่ถูกตีพิมพ์ หลังการรอคอยจากแฟนๆมายาวนาน
Edition นี้มันถูกเรียบเรียงใหม่ด้วยการผสมผสานด้วยสื่อที่หลากหลาย ตั้งแต่บทความ บทสัมภาษณ์ งานภาพถ่ายของเขาเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟุตเทตจากหนังครอบครัวที่ถูกถ่ายโดยพ่อของ Larry ซึ่งถูกใส่เข้ามาเพิ่มเติมเพื่ออธิบายเรื่องราวต่างๆของครอบครัว Sulton ให้ชัดเจนที่สุดตามแรงบันดาลใจแรกของ Larry เอง
ณ บ้านพัก Desert Community ใกล้ย่านปาล์มสปริงส์ บ้านพักหลังเกษียณของพ่อและแม่ของ Larry อันเป็นจุดกำเนิดของงานชุดนี้ เขาเริ่มโปรเจคนี้ตั้งแต่ปี 1982 ครั้งที่เขาไปเยี่ยมพ่อแม่ที่นั่น ในค่ำคืนนั้นแทนที่พวกเขาจะนั่งดูหนังที่เช่ามาด้วยกัน แต่พวกเขากลับค้นเอาฟุตเทตเก่าๆของครอบครัวที่ถ่ายกันไว้ออกมาดู ซึ่งไม่ได้เห็นกันมานานหลายปีดีดัก
“แกถ่ายรูปไปเป็น 20-30 ม้วน เพื่อรูปที่แกชอบรูปสองรูป มันไม่ทำให้แกลำบากใจเหรอ?” “ไม่เลยครับ ผมชอบถ่ายภาพ แม้ว่าส่วนใหญ่จะได้รูปแย่ๆก็ตาม” Larry ตอบพ่อของเขาไป
ประเด็นจริงๆแล้วรูปส่วนใหญ่ที่ Larry เลือก มักจะเป็นตัวสร้างความปวดหัวซะมากกว่ารูปที่ทิ้งซะอีก เพราะเขากลัวว่ารูปเหล่านี้จะทำให้พ่อรู้สึกไม่โอเค ครั้งหนึ่ง Larry เคยถ่ายภาพแม่ ซึ่งมันก็เป็นภาพธรรมดาๆ ภาพที่แม่คืออยู่ที่ประตูกระจกเลื่อน และถือถาดเงินที่ใส่ไก่งวงไว้ด้วย พ่อหาว่าเขาถ่ายภาพที่ไม่ค่อยจะเห็นแม่เลย นั่นทำให้พวกเขาเถียงกัน ในสถานะที่ต่างกัน นี่คือแม่ของ Larry ในขณะเดียวกันก็เป็นภรรยาของพ่อ Larry
นอกจากคนดูจะได้รู้จักครอบครัว Sultan ประหนึ่งงานสารคดีแล้ว เรายังได้เข้าใจวิธีการทำงานของ Larry ผ่านการจดบันทึก ร่างไอเดียและปากคำของเขาเอง นั่นทำให้ยิ่งเข้าใจความรู้สึกต่อผลงาน Pictures from home อย่างละเอียด แตกต่างไปจาก Edition แรก หรือกับหลายๆงานหลายๆศิลปินที่ไม่มีบทความหรือคำอธิบายอะไรมากนัก หรือมีเพียงถ้อยคำที่คนดู ซึ่งเป็นคนนอกจะตีความไปต่างๆนานา
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา วงการภาพถ่ายสตรีทดูจะร้อนแรงมากที่สุดจนเป็นที่จับตาในวงการศิลปะโดยรวม ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คงจะเป็น Matt Stuart ช่างภาพสตรีทชื่อดังตั้งแต่ต้นยุค 2000 ก็ได้เข้าสู่กระบวนการเป็นสมาชิกช่างภาพเอเจนซี่ชื่อดังที่สุดของโลกอย่าง Magnum Photos เมื่อปี 2017 นั่นหมายถึงช่างภาพทุกแขนงต่างก็มองเห็นถึงความสำคัญของการถ่ายภาพแนวทางนี้อยู่ไม่น้อยเลย
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Nick พยายามรักษาที่มั่นของคำว่า “Street Photography” เมื่อปีก่อน เขาเคยรู้สึกถึงการที่ผู้คนไม่เข้าใจคำว่า Street Photography ในแบบที่เขาวาดไว้ จนกระทั่งพยายามสร้างแคมเปญที่ชื่อว่า #CANPUBPHOTO อันมาจาก Candid Public Photograph เพื่อรองรับการถ่ายภาพสตรีทในแบบของพวกเขา ที่เดิมทีก็คือ Street Photography นั่นแหล่ะ.. แต่ Nick มองว่ามันถูกกลืนกินด้วยความหมายที่แตกต่างออกไปจนเกินเยียวยา จึงเหมือนเปิดแผ่นดินขึ้นใหม่ซะเลย
แน่นอนว่าแคมเปญนั้นมันไม่ได้ผลหรอก… เขาพยายามอยู่ได้ไม่นานนัก ทุกอย่างก็เงียบหายไป การที่ Nick พยายามทำนั้น ถือว่าเป็นการวิพากษ์งานศิลปะแบบหนึ่งเช่นกัน เพียงแต่ผลของมันก็คือตกไป.. Street Photography เริ่มแปรเปลี่ยนไปอีกครั้งหรือ? เฉกเช่นต้นศตวรรษที่ 20 ที่ Street Photography มันก็เคยแปลได้ว่าเป็นคนถ่ายภาพให้นักท่องเที่ยวอยู่ริมถนนชองอลิเซ่นั่นแหล่ะ
สัญญาณที่มีมาอย่างต่อเนื่องภายใน iN-PUBLIC ก็มาถึงจุดแตกหัก เมื่อความไม่ลงรอยในความเห็นระหว่าง Blake Andrews หนึ่งในสมาชิกยุคแรกของ iN-PUBLIC กับ Nick Turpin ผู้ก่อตั้ง iN-PUBLIC ในกรณีที่มีการโหวตภาพ Picture of the Month ภายในกลุ่มประจำเดือนตุลาคม 2018 ที่ทางกลุ่มจัดขึ้น ผลปรากฏว่าภาพหนึ่งที่ถูกเลือกเป็นของ Blake Andrews เป็นการถ่ายด้วยไอโฟนในโหมด Pano ซึ่งทำให้เกิดเอฟเฟคประหลาดขึ้นในภาพ
Blake Andrews / Aug 2018
ในความเห็นของ Nick นั้น ถือว่าภาพนี้ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เห็นพ้องต้องกันมาโดยตลอดของกลุ่มว่าจัดอยู่ในหมวด Street Photography ซึ่งเขาถือว่าตัวเองและกลุ่ม iN-PUBLIC ได้ทำหน้าที่อย่างหนักเพื่อสร้างความหมายนี้ให้ออกไปยังวงกว้าง จะเรียกได้ว่าผู้คนหันมารู้จักภาพสตรีทในทศวรรษนี้ก็จากการกำหนดทิศทางของเขาและ iN-PUBLIC
จากประโยคแสดงความคิดเห็นของ Nick เราจะสามารถเห็นความ Conservative (ปกป้องความคิดดั้งเดิม) ที่ย้อนแย้งอยู่ในการถ่ายภาพร่วมสมัย…. แน่นอนว่ามันไปด้วยกันไม่ได้ เสมือนจับเอาคู่ตรงข้ามมาอยู่ด้วยกัน เป็นเรื่องปกติที่เมื่อสิ่งใดได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างยาวนาน ได้เริ่มถูกท้าทายด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ การถกเถียงนั้นย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เพราะถ้ามันไม่เปลี่ยนแปลง… Street Photography เองนั่นแหล่ะก็จะเป็นสิ่งที่ตายไปซะเอง
และในกรณีนี้… คนที่ยอมตายจาก iN-PUBLIC ไปก็คือ Nick Turpin และ Nils Jorgsensen สมาชิกดั้งเดิมของกลุ่ม iN-PUBLIC โดยเฉพาะ Nick ซึ่งถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งอย่างแท้จริง นั่นย่อมทำให้วงการภาพถ่ายต้องหันมามองเหตุการณ์ในครั้งนี้