จากบทความต้นฉบับใน The Telegraph โดย Lowenna Waters
“ผมถ่ายรูปเยอะมากจริงๆ แต่ผมเลือกเฉพาะภาพที่มันสามารถสื่อสารกับผมออกมาได้เลย ซึ่งเวลาที่ผมมองดูภาพนั้นมันจะเหมือนกับว่ามีชีวิตเลย” Gueorgui Pinkhassov กล่าว
เป็นโชคดีที่ช่างภาพชาวรัสเซียผู้นี้ ตัดสินใจไม่ฟังใคร แล้วเลือกแสดงงานที่โดดเด่นจากช่วงเวลา 40 ปีในอาชีพของเขาที่ Magnum Print Room ในลอนดอน เมื่อปี 2014 ในงานนั้นประกอบได้ด้วยงานภาพสีทดลองที่เขาทำในช่วงยุค ’80s และยังมีภาพที่เขาเพิ่งถ่ายในช่วงจราจลใน Kiev
งานภาพข่าวที่มีความเป็นศิลปะของ Pinkhassov เป็นภาพธรรมดาที่เกิดขึ้นในทุกวันที่ผสมไปกับสิ่งนามธรรมและเหนือจริง ภาพไก่ที่อยู่ท่ามกลางลำแสงแดด หงอนไก่สีแดงที่ตัดกับขนสีขาว , โคมไฟนับร้อยๆ สะท้อนและส่องแสงอยู่ในตลาด Marrakech , ท่าเรือของกองทัพอาเซอร์ไบจานกับหญิงสาวผมบลอนด์กำลังสูบบุหรี่ ใบหน้าที่ถูกปิดซ่อนเอาไว้ท่ามกลางควันบุหรี่ แต่ละภาพเป็นภาพที่แสดงออกมาจากภายในจิตใจ
เขาเล่าให้ฟังอย่างตรงๆว่าสไตล์ภาพของเขานั้นได้รับแรงบันดาลใจจาก Henri Cartier-Bresson “เขาเป็นคนแรกที่ใช้วิธีการแบบนี้ ต้องขอบคุณการพัฒนาการของกล้อง Leica ทำให้เขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาในยุคนั้น ต้องขอบคุณที่มีกล้องแบบนี้อยู่ มันเป็นความก้าวหน้าของช่างภาพในยุคสมัยนั้น ว่านี่คืองานศิลปะที่ยุคสมัยแห่งศตวรรษที่ 20 สร้างได้ Cartier-Bresson ไม่ได้อัจฉริยะแค่สามารถกดชัตเตอร์ได้ในจังหวะที่พอดีเท่านั้น แต่เขายังทำให้ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ถูกถ่ายภาพไว้ได้ด้วย”
Pinkhassov สนใจการถ่ายภาพตั้งแต่สมัยยังเรียนหนังสืออยู่ หลังเลิกเรียนด้านภาพยนตร์ที่ Moscow เขาเริ่มไปทำงานเป็นช่างกล้องในหนัง ก่อนที่จะหันไปถ่ายภาพนิ่ง เมื่อปี 1978 เขาเข้าร่วมกับ Moscow Union of Graphic Artists ซึ่งทำให้เขาได้แสดงผลงานอย่างอิสระในงานนิทรรศการแสดงภาพถ่าย นั่นทำให้เขามีโปรไฟล์ที่ดีมากขึ้น หลังจากที่เขาย้ายไปฝรั่งเศสเมื่อปี 1988 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เข้าสู่กลุ่มเอเจนซี่ช่างภาพระดับโลก Magnum Photos เขาทำงานเป็นช่างภาพข่าวอยู่หลายปี ทั้งทำให้กับ New York Times และ Actuel แมกกาซีนเกี่ยวกับการเมืองของฝรั่งเศส
หลังจากงานนิทรรศการภาพเดี่ยวครั้งแรกของเขาในลอนดอนเมื่อปี 2014 ภาพทั้งหมดในชีวิตการทำงานของเขา ยังคงได้แสดงต่อไป ในช่วงต้นๆของการทำงานของเขา เขาชอบใช้ฟิล์มสไลด์ Kodachrome 200 อย่างมาก นั่นทำให้งานของเขามี Contrast สูง และสีสันสดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโทนสีแดง มันทำให้ภาพของเขากลายเป็นภาพที่คลาสสิคไปเลย อย่างเช่น ภาพ ‘The Opera HOuse (Palais Garnier)’ ซึ่งเขาถ่ายภาพกลุ่มนักเต้นบัลเล่ย์กำลังพักอยู่ข้างๆเวที ก่อนที่จะต้องขึ้นไปแสดง Contrast ที่คมชัดและเงาย้อนแสง กลายเป็นภาพเชิงเปรียบเทียบความวุ่นวายในการจัดฉาก ท่าทางของนักเต้นบัลเล่ย์ที่กลางภาพนั้นช่างโดดเด่นเหลือเกิน
ภาพนี้ได้รับแรงบันดาลใจโดย ‘Degas’ โดยช่างภาพวาดบัลเล่ย์อันโด่งดังหรือเปล่า? “ผมชอบงานของ Degas มาก แต่ตอนที่ผมถ่ายภาพนี้ผมไม่ทันได้คิดถึงเขาหรอก จนกระทั่งผมล้างฟิล์มออกมา ผมจึงเห็นว่าภาพนี้เหมือนงานของเขา ความรู้ต่างๆจากงานศิลปะและศิลปินที่อยู่ในหัว ไม่ได้มาในตอนที่ถ่ายภาพนั้นหรอก แต่มันเกิดตอนที่เราต้อง Edit งานนั่นแหล่ะ”