Bertien Van Manen เธอเกิดในปี 1942 ปีที่สงครามกำลังร้อนระอุ ท่ามกลางครอบครัวคนงานเหมือง และเธอคือช่างภาพชาวดัทช์ที่หลงใหลในงานของ Robert Frank ช่างภาพชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่สร้างผลงานภาพถ่ายสารคดีครั้งสำคัญให้กับอเมริกันชน “The Americans” เมื่อปี 1958 แน่นอนว่าเมื่อคุณตกหลุมรักในงานของ Robert Frank คุณย่อมตกหลุมรักในการเดินทาง เสพติดความเจ็บปวดของชีวิตมนุษย์ไปด้วย
Bertien ไม่ได้เริ่มต้นถ่ายภาพมาแต่เด็กเหมือนช่างภาพอาชีพหลายๆคน แต่กว่าจะเริ่มถ่ายภาพเป็นอาชีพก็ล่วงเลยมาในวัย 30 ต้นๆแล้ว และเริ่มต้นด้วยงานภาพถ่ายแฟชั่นเพื่อหาเลี้ยงชีพ จิตวิญญาณแห่งการเดินทางของเธอในแบบ Robert Frank ไม่เคยจางหายไป มันยังคงคุกรุ่นอยู่เสมอท่ามกลางชีวิตอันเรียบง่ายในเนเธอร์แลนด์
I will be Wolf คือผลงานแรกของเธอ ก่อนที่จะเดินทางข้ามทวีปไปไกล ภาพขาวดำที่เริ่มต้นถ่ายเมื่อเดือนธันวาคม 1975 ว่าด้วยชีวิตอันแสนธรรมดาในเมืองหลวงของฮังการี ภายใต้การปกครองของโซเวียต ก่อนที่จะถึงยุคที่โลกทั้งโลกถูกเชื่อมถึงกันอย่างง่ายดาย ถ่ายด้วยกล้องแสนธรรมดา ชีวิตคนธรรมดา แต่ว่ามันกลับสะท้อนความรู้สึกของเธอผ่านภาพขาวดำทั้งหมดนั่น
งานช่วงแรกของเธอมักสื่อสารในเชิงสังคม ความไม่เท่าเทียม และเป็นจุดเริ่มต้นที่งานของเธอมักเกี่ยวพันกับบทกวี ดังเช่นผลงาน I will be Wolf ที่ผสมผสานงานบทกวีของศิลปินชาวฮังการีเข้าไว้ด้วย ( ชื่อ I will be Wolf นำมาจากบรรทัดหนึ่งในบทกวี Grief ปี 1929 ของศิลปินที่ชื่อว่า Józef Atilla)
กลับมาในส่วนของแผนกภาพถ่ายของ MoMA ในปี 1962 หลังการทำงานหน้าที่สำคัญของ Edward Steichen กว่า 15 ปี เขาปั้นช่างภาพหน้าใหม่ให้กับวงการอย่าง Robert Frank, Elliott Erwitt, Harry Callahan, Todd Webb, W.Eugene Smith , Esther Bubley และ Lucien Clergueให้เจิดจรัสในโลกศิลปะช่วงทศวรรษที่ 50 ไปแล้ว ก็ได้เวลาที่เขาขอลงจากตำแหน่งแม่ทัพของทีมที่ดุเดือดที่สุดในวงการศิลปะยุคใหม่
Edward Steichen และ John Szarkowski ในปี 1964
การวางตัวตายตัวแทนจึงไม่ใช่เรื่องขอไปทีสำหรับ Steichen แต่มันคือการวางรากฐานสำคัญของชัยชนะทางศิลปะภาพถ่ายของอเมริกาต่อไปอีกยาวนาน แน่นอนว่าเขามีคนที่อยู่ในใจแล้ว นั่นคือ John Szarkowski (จอห์น ชาร์คอฟสกี) ช่างภาพหนุ่มไฟแรงที่กวาดรางวัลมามากมาย ขณะนั้น John อายุได้ 36 ปี กำลังเป็นคนหนุ่มไฟแรง หัวก้าวหน้าทางศิลปะ และผลงานหนังสือภาพที่เขาตีพิมพ์เอง 2 เล่ม “The Idea of Louis Sullivan” (1956) และ “The Face of Minnesota” (1958) ก็ได้รับผลตอบรับอย่างดีถึงกับเคยขึ้น Best-seller ของ The New York Times อยู่หลายสัปดาห์
The Face of Minnesota งานของ John Szarkowski
John Szarkowski มีแนวทางที่แตกต่างไปจากช่างภาพในยุคนั้นที่มักมองสิ่งต่างๆที่พัฒนาจากงาน Painting เป็นหลัก ความงดงามที่เหมือนจิตรกรรม ในขณะที่ John มองอะไรที่ค่อนข้างเป็นงาน Fine Art ที่แสดงอัตลักษณ์ของศิลปินออกมา เน้นแรงขับจากความรู้สึกข้างในตัวตนมากกว่าความงามตามทฤษฏีศิลปะทั่วไป
พูดง่ายๆคือ John ค่อนข้างเบื่อหน่ายกับงานศิลปะที่สื่อสารออกมาโต้งๆ โดยไม่ผ่านมุมมองส่วนตัวของศิลปิน จะเรียกว่าตรงข้ามกับ Steichen ที่มองคอนเซปใหญ่ๆ ไกลๆ เช่น The Family of Man ที่เป็นงานนิทรรศการระดับ World Concept จนทำให้ MoMA มีคนเข้ามาชมหลายล้านคน แต่ความแตกต่าง ตรงข้ามระหว่างเขาทั้งสองคนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเกินคาดเดาอะไรของ Steichen เลย เพราะความแตกต่างนั่นต่างหาก..ที่เขามองเห็นและวาดหวังจะให้ John เปลี่ยนแปลง MoMA แบบสุดโต่งอยู่แล้ว
John เคยพูดถึงหน้าที่ที่เขารับมอบหมายต่อจาก Steichen ว่า “เราสองคนอาจจะรับผิดชอบงานในตำแหน่งเดียวกัน แต่มันเป็นช่วงยุคสมัย ช่วงเวลาที่ต่างกันมาก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า งานของผมกับเขา..มันก็แทบจะไม่ได้เหมือนกันหรอก”
ส่วนหนึ่งในนิทรรศการภาพ Five Unrelated Photographers ปี 1963
ในทางกลับกัน ความเป็นอิสระของศิลปิน คือเนื้อหาสำคัญที่ John Szarkowski ต้องการจากช่างภาพทั้ง 5 อันได้แก่ Ken Heyman , George Krause , Jerome Liebling , Minor White และ Garry Winogrand
แต่ในท้ายที่สุด John ก็ได้พาเอางานของ Ernst Haas , Helen Levitt และแน่นอนที่สุด.. William Eggleston เจ้าพ่อแห่งการถ่ายภาพสีในโลกศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเราจะพูดถึงกันในตอนถัดไป (ถ้ามีโอกาสเขียนต่ออีก)