จากบทความ How to Shoot Street Photography with a 28mm Lens ใน petapixel.com
โดย Eric Kim
แปล โดย Asadawut Boonlitsak Continue reading “วิธีการถ่ายสตรีทด้วยเลนส์ 28mm โดย Eric Kim”
จากบทความ How to Shoot Street Photography with a 28mm Lens ใน petapixel.com
โดย Eric Kim
แปล โดย Asadawut Boonlitsak Continue reading “วิธีการถ่ายสตรีทด้วยเลนส์ 28mm โดย Eric Kim”
จากส่วนหนึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ The Art of the Gag โดย Tonys Zhou
เรียบเรียง โดย อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล (Sun)
Buster Keaton นักแสดงตลกชาวอเมริกันระดับตำนานของโลก เขาเป็นที่รู้จักในยุคหนังเงียบราวๆยุค 1920s มีความสามารถในการแสดง กำกับหนัง และเขียนบทให้ตัวเองเล่นตลก จนสไตล์ “ตลกหน้าตาย” ของเขา กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว Continue reading “บทเรียนการถ่ายภาพสตรีท จากหนังตลกสุดคลาสสิคของ Buster Keaton”
บทความโดย Sun สยาม.มนุษย์.สตรีท
**ขอขอบคุณภาพประกอบบทความจากช่างภาพกลุ่ม Street Photo Thailand **
เวลาได้นั่งคุยกับคนทั่วๆไปที่ดูภาพสตรีทจริงๆจังๆ เราจะเจอปัญหาว่า คนส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจว่าภาพสตรีทดีๆ จากช่างภาพสตรีทเจ๋งๆ ภาพพวกนี้มันดียังไงวะ? ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจว่าภาพสตรีทคือภาพถ่ายอะไรก็ได้บนถนน ซึ่งบางภาพคนมักจะดูแล้วบอกว่า “ดูไม่เข้าใจเลย..” “ทำไมถึงบอกว่าดีได้เนี่ย..” โอเคล่ะ บางภาพที่สื่อสารด้วยวิธีชัดเจน มีเรื่องขำๆผสมเข้ามา ก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า แต่สตรีทนั้นกว้างใหญ่นัก.. วิธีการถ่ายมีหลากหลาย แนวทางคลาสสิคของสตรีทก็อาจจะเข้าใจได้ยากกว่า ทำให้คนดูดูแล้วก็ผ่านเลยไป ไม่เหมือนภาพวิว ภาพนางแบบสวยๆ พริตตี้ ภาพฮิปสเตอร์ๆ ที่ดูอิมแพค สวยเลยชัดเจน ไม่ต้องตีความมาก
ใช่.. หลายๆครั้งภาพสตรีทจะต้องตีความ หรือเข้าใจพื้นฐานงานศิลปะภาพถ่ายบ้าง การถ่ายภาพสตรีทเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีประวัติศาสตร์นะ มีเรื่องราวของมัน มีวิธีและหลักการของมัน (เอาไว้จะเขียนเรื่องประวัติศาสตร์การถ่ายสตรีทให้อ่านกันต่อไปในอนาคต) พอคิดๆดูแล้ว เรามานั่งทบทวนว่า ‘เราไม่ควรแนะนำแค่การถ่ายภาพสตรีทอย่างเดียว’ แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจด้วยก็คือ… การแนะนำให้คนหันมาดูภาพสตรีทแล้วสนุกตามได้!
สำหรับเราแล้วการถ่ายภาพสตรีทก็เหมือนการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง เมื่อเราเล่นกีฬาชนิดนั้นเป็น เราก็คงสนุก แต่มันคงสนุกกว่าถ้ามีผู้ชม และผู้ชมก็สนุกไปกับเราด้วย (จะสนุกได้ก็คงต้องเข้าใจกติกาก่อนใช่มั๊ยล่ะ?) เลยเป็นที่มาของไอเดียนี้
คงเหมือนกับการบอกกฏ กติกาของการเล่นกีฬาทั่วๆไป เราอาจจะเคยแนะนำกันไปบ้างแล้วว่า ภาพสตรีทคือภาพถ่ายภาพในที่สาธารณะโดยไม่ได้จัดฉากเองซึ่งมันต้องมีองค์ประกอบศิลป์ที่น่าสนใจ จุดสำคัญคือมันเล่าเรื่องด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดเด่น (เป็นการช่วยแยกแยะว่า ภาพสตรีทที่เป็นภาพลุงขอทาน ป้าขายลูกชิ้นปิ้ง หรือพระบิณฑบาตเฉยๆ ทำไมถึงมีโอกาสที่จะไม่ได้เป็นภาพสตรีทที่ดีนัก)
มากไปกว่าภาพสตรีททั่วๆไปคืออะไร? เราจะมาแนะนำวิธีชมภาพสตรีทให้สนุก ลองมองดูว่าภาพเหล่านั้นว่ามีท่าไม้ตายเหล่านี้ซ่อนอยู่ส่วนไหนของภาพบ้าง เวลาเราดูมวย เขาก็มีหมัดแย้บ หมัดอัพเปอร์คัท หมัดฮุค มาดูยกน้ำหนัก ก็มีท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ท่า..เอิ่ม (รู้จักอยู่ท่าเดียว…) แต่ละท่าก็จะได้คะแนนต่างกันไป ยากง่ายต่างกันไป เลือกใช้แล้วแต่สถานการณ์ต่างกันไป
การถ่ายภาพสตรีทก็เช่นกัน… ลองมาดูกันว่าท่าไม้ตายในการถ่ายภาพสตรีทที่นิยมใช้กัน และแต่ละท่านั้นมันมีดียังไง?
ท่านี้อ่านว่า “จั๊ก-ทา-โพ-สิ-ชั่น” ท่านี้เป็นท่ายอดนิยมท่าหนึ่ง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานยันโปรฯ เลย ซึ่งแปลได้ว่า การเปรียบเทียบ แต่เรามักจะรวมไปถึง การเทียบเคียงด้วย (คืออะไรที่ดูแล้วมันใช้แทนกันได้) ท่านี้คืออะไร? ง่ายๆก็คือช่างภาพมักจะมองหา Subject ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน หรือ มีอะไรที่มันดูเทียบเคียงเป็นอีกสิ่งได้
ความดีงามของท่านี้คือ ยิ่งถ้าการเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงนั้นมันดูเนียน หรือทำได้ยากแต่ดันเป็นไปได้ ก็จะยิ่งดูน่าสนใจ ซึ่งไอ้ท่าไม้ตายนี้มันค่อนข้างจะเข้าใจได้ง่าย ดูง่าย มักจะมีอารมณ์ขัน หรือน่าทึ่งอยู่ในนั้น ทำให้เป็นท่าที่ได้รับความนิยมมาก แต่จุดสำคัญที่จะทำให้ภาพดีไปอีกขั้นก็คือ การจัดองค์ประกอบภาพให้สวยงามหรือบวกท่าไม้ตายอื่นไปด้วย
การเปรียบเทียบระหว่างหัวคน กับโคมไฟ จะเห็นว่าส่วนสำคัญกว่านั้นในภาพนี้คือการจัดวางองค์ประกอบภาพให้สวยงามด้วย
การเปรียบเทียบท่าทางระหว่างภาพช่างซ่อมรถด้านบน กับพี่ยามด้านล่างที่ดูคล้ายกันอย่างบังเอิญ ทำให้ชวนสงสัยว่า เฮ้ย.. เกิดขึ้นได้ยังไง? เป็นต้น
ช่างภาพที่ใช้ท่าไม้ตายนี้บ่อยและยาวนานคนหนึ่งคือ Elliot Erwitt ลุงแกใช้มาตั้งแต่โบราณกาลยุค ’60s แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นอารมณ์ขันกุ๊กกิ๊กๆน่ารักๆของแกนั่นแหล่ะ ภาพนี้ก็เช่นกัน เป็นการเปรียบเทียบชนิดนึงนะ
การคุมโทนสี เป็นหนึ่งในท่าไม้ตายคลาสสิคที่มีมาตั้งแต่สมัยที่ชาวสตรีทหันมาใช้ฟิล์มสีกัน ประมาณกลางยุค 1950s ก่อนหน้านั้นการถ่ายภาพสีไม่เป็นที่นิยมในหมู่ช่างภาพมืออาชีพเพราะมีความเชื่อว่ามันดูไม่เป็นงานศิลปะเท่าไหร่ สมัยนั้นภาพสีจึงนิยมเฉพาะในกลุ่มภาพโฆษณา ส่วนช่างภาพสตรีทเองนิยมใช้แต่ฟิล์มขาวดำกัน จนกระทั่งเริ่มมีช่างภาพสตรีทที่พยายามแหกกฏเดิมๆ หันมาทำงานทดลองอย่างเช่นภาพสี เราจึงเริ่มเห็นท่าไม้ตายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการพัฒนาเทคนิคกันมาเรื่อยๆ รูปแบบที่นิยมใช้กัน เช่น การคุมโทนสีให้ในเฟรมเดียวกัน ทุก Subject จะมีสีเดียวกันให้หมด หรือ มี2-3สีทั้งภาพ ยิ่งมี Element เยอะมาก (แต่สีถูกคุมอยู่ในโทนที่กำหนด) หรือ มีท่าทางประกอบของ Subject ที่แปลกประหลาด ก็ยิ่งดูน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่ง..มันต้องอาศัยดวง อาศัยโชคชะตา บวกกับความไวในการวางเฟรมด้วย
ดูสิ..แม้แต่ป้า Vivian ยังใช้ท่าไม้ตายนี้เลย
อันนี้เราบังเอิญเห็นในเสี้ยววินาที รีบยกกล้องกดไปเลย ก็เป็นการคุมโทนสีเช่นกัน
เราแปลมันว่าอะไรดีล่ะ… วิชาอำพรางตัวละกัน วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่ช่างภาพสตรีทมักผสมเข้าไปในงานของตัวเอง อาจจะคล้ายๆการที่นินจาอำพรางตัวอะไรแบบนี้ เป็นการปกปิดส่วนใดส่วนหนึ่งของ Subject เช่น หน้า , หัว , ตัว หรือโผล่มาแต่แขน อะไรแบบนี้ ซึ่งการปิดบังแล้วได้อะไร? การอำพรางตัวก็คงคล้ายๆกับการผู้หญิงที่ดูเซ็กซี่ที่สุด คือผู้หญิงที่ปกปิดๆแต่มีท่าทีลึกลับน่าค้นหาต่างหาก ซึ่งการใช้ท่าไม้ตายอำพรางนี้ก็เช่นกัน มันจะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นมาทันที
ช่างภาพ Magnum ใช้วิธีนี้กันหลายคน คนนึงที่มักใช้วิธีนี้ได้น่าสนใจเสมอก็คือ Alex Webb นี่แหล่ะ จะเห็นว่าการตัดเอาให้เหลือแต่มือ แขน บังหน้าบังตากันไป แล้วจัด Element เหล่านี้ลงในเฟรมให้สวยงามนั้น มันน่าสนใจจริงๆ
กลายเป็นงานคลาสสิคของทวีพงษ์ไปแล้ว ช่างภาพสตรีทมือหนึ่งของไทย ภาพนี้กวาดรางวัลในช่วงปี 2014-2015 มามากมาย ก็เป็นวิธีอำพรางตัวชนิดหนึ่ง แต่อันนี้เป็นหมาอำพรางหัว.. น่าสนใจใช่มั๊ยล่ะ
ช่างภาพในกลุ่ม Street Photo Thailand คนล่าสุด พี่แรมมี่ใช้วิธีการบังหน้าของ Subject บวกกับการจัดองค์ประกอบภาพ , สี และท่าทางของ Subject ทำให้ภาพนี้ดูลึกลับและน่าสนใจ
“โลว์-คีย์” ในภาษาการถ่ายภาพ ก็คงเข้าใจว่าคือการถ่ายภาพให้แสงมืดกว่าค่าวัดแสงปกตินั่นแหล่ะ วิธีนี้ทำให้ภาพเกิด Contrast เยอะขึ้น ถ้าเป็นภาพสี ก็จะช่วยให้สีสันจัดขึ้น ส่วนใหญ่ถ้าเป็นภาพสีจึงเป็นการโชว์ส่วนที่เป็นสีออกมาในจุดที่โดนแสง และมืดไปเลยในส่วนที่แสงน้อย หลายๆครั้งวิธีนี้ยังทำให้ Subject ถูกบดบังไปในตัว (คล้ายๆกับ Hidden) ทำให้ภาพดูลึกลับ บางทีก็ใช้กับภาพขาวดำ ดูเป็นสไตล์ ฟิล์มนัวร์ เข้าไปอีก
คุณลุง Harry Gruyaert คือเจ้าพ่อแห่งการเล่นสีและแสงของวงการสตรีท หนึ่งในช่างภาพ Magnum Photos ที่มักใช้ Low-Key ดึงเอาสีสันออกมาอย่างสวยงาม
ภาพนี้เราใช้วิธี Low-Key เช่นกัน แสงจริงๆในตอนนั้นแรงมากนะ แสบตาเลยล่ะ แต่พอมองเห็นสีสันในร้าน เลยเลือกใช้วิธีนี้
ท่า “เงามรณะ” คืออีกหนึ่งท่าคลาสสิคที่นิยมใช้กัน จะสังเกตว่า วิธีการเหล่านี้มักจะทำเพื่อเพิ่มความสนใจให้ Subject ที่ดูธรรมดาๆ ให้กลายเป็นเหมือนหนัง Thriller ชั้นดี อะไรที่มันดูลึกลับๆน่ะ ท่าเงามรณะนี้ ศิลปินบางคนก็มักจะไปใช้กับภาพขาวดำ ก็ได้ความคลาสสิคเพิ่มขึ้นด้วย
ทริกในการใช้ท่าเงามรณะอีกอย่างนึงคือ ลองสังเกตดูว่า เงาอาจจะมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกับวัตถุหรือ Subject จริงๆของมัน เมื่อผสมผสานกันระหว่างวัตถุหรือพื้นผิวที่ทำให้เกิดการหักเห จุดนี้ทำให้เกิดการบิดเบือนในภาพได้มากมาย จนกลายเป็นภาพที่น่าสนใจขึ้นมาทันทีเลย
การเล่นกับกระจก หรือ การสะท้อนเงาบนอะไรที่ไม่ใช่กระจกก็ได้นะ เช่น น้ำ ก็ทำได้ เป็นท่าไม้ตายนึงที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมาแต่ดั้งแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนให้มันสมมาตรกัน ( Symmetry ) สะท้อนให้มันกลืนเป็นภาพเดียวกัน ( Blend ) หรือสะท้อนเพื่อให้มันกลับด้านกันไปเลย ( Opposite ) ต่างก็ทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจได้ทั้งนั้น ซึ่งไอ้ท่านี้มีใช้มาแต่นมนานตั้งแต่เริ่มมีการถ่ายภาพกันเลยก็ว่าได้ ก็นับเป็นร้อยปีแล้วล่ะ
รูปแบบ Symmetry ภาพนี้ของ Richard Klavar เป็นหนึ่งในงานระดับคลาสสิค ถูกถ่ายตั้งแต่ปี 1969
ภาพนี้เป็นของ กบ แอดมินของสยาม.มนุษย์.สตรีทเรานี่เอง ใช้วิธีการ Blend กันระหว่างการสะท้อนและ Subject หลังกระจก เป็นอีกวิธีคลาสสิคของชาวสตรีทเลยล่ะ
อีกหนึ่งงานของ ทวีพงษ์ เป็นการสะท้อนตัวเป็ดยักษ์แบบกลับด้านบนผิวน้ำ แต่ยังมีความซับซ้อนเพิ่มตรงที่มีเป็ดจริงแต่ทำท่ากลับหัว และเป็ดจริงอีกตัวที่สะท้อนกันกลางน้ำอีกด้วย
“เลเยอร์” ถ้าจะเรียกว่าเป็นท่าที่ยากที่สุดของชาวสตรีทก็ว่าได้ เพราะการที่จะทำให้รูปสตรีทในท่าไม้ตายนี้ออกมาดี นอกจากฝีมือและความไวในการจับจังหวะแล้ว ก็ต้องพึ่งพาโชคมากที่สุด แต่ถ้าทำได้ดีแล้วล่ะก็… จะทำให้ได้ภาพโคตรจี๊ดๆเลย (ถ้าเป็นยิมนาสติก คงได้ 10 คะแนนเต็ม) อย่างเช่นรางวัลที่ 1 และ ที่ 3 Miami Street Photograhy ปีที่แล้ว ปี 2015 ก็ใช้ท่า Layers นี่แหล่ะ ( ที่ 1 นี่อาจจะบวกกับการใช้ Shodows เข้าไปด้วย )
หลักการของท่านี้ก็คือ การจัดองค์ประกอบภาพให้มี Elements หลายๆอย่างอยู่ในเวลาเดียวกันอย่างลงตัว โดยที่ควรทำให้เกิดมิติภาพ มีทั้ง Subject ที่เป็น Foreground , Midground และ Background (หน้า กลาง หลัง นั่นแหล่ะ)
มีคนบอกสูตรเอาไว้ด้วยว่า ควรมี Subject อย่างน้อย 3 ชิ้น/คน/ตัว ขึ้นไป แต่จะให้โดดเด้งเลย ต้องมีสัก 5 ชิ้น/คน/ตัว โดยไม่ทับซ้อนกัน และต้องวางอยู่ในตำแหน่งอย่างสวยงามนะ! อีกจุดที่ควรใส่ใจก็คือ Action ของ Sucject ในภาพนั้น ต้องน่าสนใจด้วย
หนึ่งในเซ็ตภาพที่ชนะเลิศอันดับที่ 1 ในการประกวด LACP Second Annual Street Shooting 2016 ของ ทวีพงษ์ เป็นภาพ Layers ที่ยอดเยี่ยมมากๆ ทั้งท่าทางของแต่ละ Subject , โทนสี .. ลองกลับขึ้นไปอ่านสูตรการถ่ายแบบ Layers แล้วกลับมาดูภาพนี้ใหม่ จะพบว่ามีครบหมดทุกข้อ!
ภาพชนะเลิศอันดับที่ 3 ของ Miami Street Photography 2015 เป็นภาพที่ควรศึกษาสำหรับคนที่ชอบ Layers เช่นกัน
Alex Webb เปรียบเสมือนตัวแทนเทพเจ้าแห่งท่าไม้ตาย Layers ของชาวสตรีทก็ว่าได้ ถ้าคิดว่าสนใจการถ่ายแบบ Layers แล้วล่ะก็ Webb คือคนแรกที่ควรศึกษาเลยล่ะ
จริงๆแล้วคำว่า “คลิเช่” ในภาษาหนัง ออกจะดูเป็นความหมายไม่ไปในทางบวกสักเท่าไหร่ ปกติก็จะหมายความกันว่า มันซ้ำไปซ้ำมา เดาทางได้แล้วว่าเรื่องราวจะเป็นยังไง พวกแฟนหนังระดับฮาร์ดคอร์ก็คงเข้าใจคำนี้ดี แต่สำหรับชาวสตรีท การ Cliche’ มีความหมายกลางๆ มันจะดีหรือไม่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือช่างภาพนั่นแหล่ะ เอาเป็นว่ามันเป็นท่าที่ผู้ที่เริ่มถ่ายสตรีทมักจะชอบใช้ที่สุด (มันจึง Cliche’)
พวกเรามักจะเรียกท่านี้กันเล่นๆว่า “ต่อหัวต่อหาง” (ในหนังสือ The Street Photograhy’s Manual ของ David Gibson ในลักษณะคล้ายๆกันนี้ ใช้คำว่า Lining Up) ประเภทที่ฮิตๆอย่างเช่น เอาภาพในป้ายโฆษณามาเชื่อมต่อกับคนที่อยู่ในภาพ เอาหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารมาแทนหน้าคนถือ ฯลฯ แต่เตือนไว้ก่อนว่าการที่จะทำให้ภาพที่ใช้ท่านี้โดดเด่นออกมา ควรจะต้องทำการบ้านๆเยอะๆนะ ถ้าป้ายนั้น สิ่งของนั้นๆ มีคนถ่ายมาเยอะแล้วก็ไม่ควรไปถ่ายซ้ำเขาอีก (นี่แหล่ะ…จะ Cliche’ ในทางไม่ดีจริงๆเลย) หรือการจัดวางองค์ประกอบอื่นๆที่จะทำให้ภาพดูสวยขึ้น ถึงจะทำให้ภาพที่ใช้ท่านี้มันโดดเด่นออกมาได้
Cliche’ หลายๆกรณีเองอาจจะดูคล้ายๆกับ Hidden แต่ความต่างง่ายๆก็คือถ้าเป็นการโดน Element สักอย่างมาบัง มักจะทำให้ Subject ที่โดนบังนั้น แปลงกายเป็นสิ่งอื่นไปเลย ในระดับโปรๆเองก็ยังใช้กันมากมาย ข้อสำคัญก็คือมันจะต้องเนียนและมีความสวยงามในการวาง Composition , การจับท่าทางของ Subject ( Gesture ) ให้น่าสนใจด้วย ไม่ใช่เอาแต่ Content อย่างเดียว
(จะว่าไป ไอ้ท่าต่างๆข้างบนที่ว่ามา เช่น Shadows , Mirror อะไรทั้งหลาย ก็มีความ Cliche’ อยู่ด้วยกันทั้งนั้น แต่เดี๋ยวจะงง ขอแยกประเภทเป็นแบบนี้ให้ดูก่อนแหล่ะ)
การใช้แฟลชในงานสตรีทไม่ใช่ของใหม่ แต่มีมายาวนานเกือบร้อยปี เพียงแต่ได้รับความนิยมจริงๆในช่วงยุค 1990s เมื่อ Bruce Gilden ช่างภาพสตรีทระดับตำนานจาก Magnum Photos หันมาสาดแฟลชใส่คนเดินถนนแบบไม่ทันตั้งตัวในระยะไม่เกินหนึ่งช่วงแขน จนเป็นพื้นฐานท่าสตรีทท่าหนึ่งที่ใช้แฟลช การพัฒนางานสตรีทที่ใช้ Flash ในปัจจุบันก็มีช่างภาพอยู่หลายคน ที่เน้นการถ่ายด้วย Flash เป็นหลักเลย เช่น Boris The Flash (Full Frontal) , Dirty Harry (iN-PUBLIC) ลองค้นหางานพวกเขาดูกันได้
การใช้ Flash ไม่ใช่มีแค่การยิงใส่หน้าผู้คนอย่างเดียวนะ แต่มันเป็นการทำให้ Subject ทุกรูปแบบดูน่าสนใจขึ้น ด้วยปัญหาต่างๆจากสภาพแสง เช่น แสงไม่พอ , เราต้องการหยุดภาพให้ Subject นั้นชัดในสภาพแสงน้อย หรือแม้แต่เวลาแสงหม่นๆ ท้องฟ้าไม่ปลอดโปร่ง ก็สามารถใช้แฟลชเพื่อดึงให้ Subject มีสีที่สดขึ้นได้ เป็นต้น แน่นอนว่าสุดท้าย ภาพที่ออกมาจะต้องดูแปลก ดูน่าสนใจ องค์ประกอบภาพสวยเพียงพอด้วย
จริงๆแล้ว การถ่ายสตรีทไม่ได้มีแค่ 8 ท่าไม้ตายนี้เท่านั้นนะ เราเอามานำเสนอเพื่อให้จับทางได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ยังมีอะไรที่ต้องเรียนรู้กันอีกเยอะ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับคนที่ดูยังไม่ค่อยเข้าใจก็จะได้สนุกกับการชมภาพสตรีทมากขึ้น คนที่จะถ่ายสตรีทเองก็จะได้ค้นหาสไตล์ของตัวเองได้ง่ายขึ้นด้วย ไม่จำเป็นต้องถ่ายด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งนะ หลายๆภาพสตรีทที่ดีมากๆ ก็เป็นการรวมเอาหลายๆวิธีเข้าด้วยกันในภาพเดียว สุดท้ายแล้ว ภาพสตรีทมันคืองานศิลปะชนิดหนึ่งน่ะ ไม่มีความตายตัว แต่ต้องมีความงามมีคุณค่า มีเรื่องราวในตัวของมันเองเสมอ ขอให้สนุกกับการชมและการถ่ายภาพสตรีทกันทุกคน สวัสดี..